แนะนำความถี่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ติดต่อเจ้าของประกาศ

อื่นๆ

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ได้จัดสรรคลื่นความถี่ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อันได้แก่

   1. กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา

   2. องค์การบริหารส่วนจังหวัด

   3. เทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล องค์การบริหารส่วตำบล

   4. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย (ซึ่งยังไม่มี)

  หลาย ๆ อปท. ยังมีความเข้าใจผิดในการใช้คลื่นความถี่อยู่มาก ซึ่งเป้นการทำผิด พรบ.วิทยุคมนาคม 2498 มาตรา 6 จากประสปการณ์ที่เคยพบเช่น

    1. ไม่ขออนุญาตจัดสรรคลื่นความถี่หรือขออนุญาตใช้เครื่องวิทยุคมาคมเพิ่มเติม

    2. ซื้อเครื่องผิดประเภท เช่น ซื้อเครื่องเถื่อน เครื่องวิทยุสมัครเล่น  ซื้อเครื่องที่กำลังส่งเกินตามที่กฎหมาย

อนุญาต มาใช้งาน

    3. ใช้คลื่นความถี่ที่ไม่ได้รับอนุญาต เช่น 162.550 MHz 162.800 MHz

    จากหลัก 3 ค.

       คน คือ ฝ่ายบริหาร ข้าราชการประจำ ลูกจ้าง หรือ บุคคลที่ นายกของ อปท. นั้น ๆๆ เห็นสมควรว่าควรใช้วิทยุสื่อสารโดยมีหนังสือแต่งตั้ง เช่น อพปร.  และ 1.ต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการใช้วิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี 2. หลักสูตรว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ

       คลื่น คือ ความถี่ที่ได้รับการจัดสรรจาก สนง.กสทช. เท่านั้น การใช้คลื่นความถี่ที่ไม่ได้รับอนุญาต ผิดกฎหมาย พรบ.วิทยุคมนาคม 2498 มาตรา 6 คลื่นที่สำนักงาน กสทช. อนุญาตให้ใช้คือ

         ช่อง 1. ความถี่ 162.125 MHz ใช้ประสานงานกับหน่วยงานสังกัดกรมการปกครองและกรมปกครองส่วนท้องถิ่น

         ช่อง 2. ความถี่ 162.150 MHz ช่องสื่อสาร

         ช่อง 3. ความถี่ 162.175 MHz ช่องสื่อสาร  

         ช่อง 4. ความถี่ 162.225 MHz ช่องสื่อสาร

         ช่อง 5. ความถี่ 162.475 MHz ช่องสื่อสาร

         ช่อง 6. ความถี่ 162.525 MHz ช่องสื่อสารและช่องเรียกขาน

         ช่อง 7. ความถี่ 162.575 MHz ช่องสื่อสาร

         ช่อง 8. ความถี่ 162.650 MHz ช่องสื่อสาร

         ช่อง 9. ความถี่ 162.775 MHz ช่องสื่อสาร

         ช่อง 10. ความถี่ 162.825 MHz ช่องสื่อสาร

         ช่อง 11. ความถี่ 162.975 MHz ช่องสื่อสาร

และความถี่ประสานงานภาครัฐซึ่ง สนง.กสทช. จัดสรร ให้หน่วยงานราชการทุกหน่วยงานที่เคยได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่แล้ว เพื่อใช้งานร่ามกัน กรณีเกิดภัยพิบัติ

         ช่อง (1)12. ความถี่ 161.475 MHz ช่องสื่อสารและช่องเรียกขาน

         ช่อง (2)13. ความถี่ 166.475 MHz ช่องสื่อสาร

         ช่อง (3)14. ความถี่ 147.425 MHz ช่องสื่อสาร

         ช่อง (4)15. ความถี่ 142.425 MHz ช่องสื่อสาร

  จะเห็นได้ว่าตามกฎหมายแล้ว อปท. มีสิทธิ์และได้รับ อนุญาตการใช้ความถี่เพียง 15 ช่องความถี่เท่านั้น

        เครื่อง คือ เครื่องวิทยุคมนาคมทีได้รับการตรวจรับรองเครื่องวิทยุคมนาคมและเป็นเครื่องสังเคราะห์ความถี่ประเภท 2 เท่านั้น โดยผู้ขายต้องบรรจุ ความถี่และกำลังส่ง ตามที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น โดยแบ่งเป็น

        1. ประจำที่ไม่เกิน 60 วัตต์ เคลื่อนที่ ไม่เกิน 30 วัตต์ มือถือ 5 วัตต์ เสาสูงไม่เกิน 60 เมตร สายอากาศ อัตรขยายไม่เกิน 6 dBd อนุญาตสำหรับ กรุงเทพมหานคร องค์การบริหารส่วนจังหวัด

        2. ประจำที่ไม่เกิน 30 วัตต์ เคลื่อนที่ ไม่เกิน 30 วัตต์ มือถือ 5 วัตต์ เสาสูงไม่เกิน 60 เมตร สายอากาศ อัตรขยายไม่เกิน 6 dBd อนุญาตสำหรับ เทศบาลนคร เทศบาลเมือง

        3. ประจำที่ไม่เกิน 10 วัตต์ เคลื่อนที่ ไม่เกิน 10 วัตต์ มือถือ 5 วัตต์ เสาสูงไม่เกิน 60 เมตร สายอากาศ อัตรขยายไม่เกิน 6 dBd  อนุญาตสำหรับ เทศบาลตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล

    

       ขั้นตอนการจัดซื้อที่ถูกต้อง

ราคากลางสำนักงานมาตรฐานงบประมาณ ปีงบประมาณ 2560

1. ประจำที่ 45 วัตต์ ราคา 14,000 บาท

2. ประจำที่ 30 วัตต์ และ 10 วัตต์ 11,000 บาท

3. เคลื่อนที่ 30 วัตต์ และ 10 วัตต์ 19,500 บาท

4. มือถือ 5 วัตต์ 12,000 บาท

1. สำรวจความต้องการ

2. ตั้งงบประมาณ

3. ขออนญาตจัดสรรคลื่อนความถี่หรือขอใช้เครื่องวิทยุคมนาคมเพิ่มเติม

    3.1 นำผลการขอตาม ข้อ 3 ดำเนินการจัดซื้อ แล้วแต่ลักษณะงบประมาณ

4. เมื่อจัดซื้อเสร็จ ผู้ซื้อ บันทึกรายละเอียดเครื่องวิทยุคมนาคมที่จัดซื้อลงในแบบ ฉก.7 ส่งไปที่ สนง. กสทช.

 4.1 ทำบัญชีรายละเอียดเครื่อง ผู้ใช้ เพื่งส่งไปที่ กรมปกครองส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง และ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

 4.2 อปท. ที่ได้รับอนุญาตใช้คลื่อนความถี่ต้องแจ้งขยายระยะเวลาการอนุญาต ภายใน 30 วัน ก่อนวันหมดในใบอนุญาต ของทุกปี